ประวัติความเป็นมา
จุดเริ่มเกิดขึ้นในละตินอเมริกา ในช่วงทศวรรษที่ 1970 เพราะว่าในช่วงนั้นเกิดการเอารัดเอาเปรียบของโลกที่หนึ่งที่มีต่อโลกที่สาม เป็นปฏิกิริยาของชาวคริสต์ในโลกที่สามที่มีต่อความไม่เป็นธรรมในสังคม และได้มีบาดหลวงจำนวนมากได้นำวิธีการวิเคราะห์ทางสังคมมาใช้ ในการตีความศาสนาคริสต์และสถานการณ์ในละตินอเมริกา แทนการตีความศาสนาคริสต์ตามแบบประเพณีนิยม บาทหลวงเหล่านี้ในที่สุดแล้วได้กลายเป็น "เทววิทยาแห่งการปลดปล่อย" (Liberation Theology) ทำงานร่วมทุกข์ร่วมสุขกับคนยากจนในชุมชนชาวคริสต์
เกิดพัฒนาการที่สำคัญที่สุดของโบสถ์ในระยะนี้ก็คือ การเติบโตอย่างเงียบๆ และต่อเนื่องของ "ชุมชนพื้นฐาน" (Base Community) ชุมชนพื้นฐานเป็นรากฐานที่สำคัญของ "เทววิทยาแห่งการปลดปล่อย" ในบราซิลเพียงประเทศเดียวมีชุมชนดังกล่าวอยู่ถึง 70,000 กว่าแห่ง และมีสมาชิกทั้งหมดประมาณ 2.5 ล้านคน ฟิลลิป เบอรี่แมน (Phillip Berry man) ได้ให้คำจำกัดความ "ชุมชนพื้นฐาน" ของ โบสถ์ว่า "เป็นชุมชนเล็กๆ ที่มีคนธรรมดาเป็นผู้นำ ด้วยแรงบันดาลใจจากความเชื่อในศาสนาคริสต์ โดยถือว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งของโบสถ์ และประสงค์จะทำงานร่วมกันเพื่อปรับปรุงชุมชนและสร้างความยุติธรรมให้เกิดขึ้นในสังคม"
"เทววิทยาแห่งการปลดปล่อย" เป็นการตีความหลักความเชื่อในศาสนาคริสต์จากประสบการณ์ของความทุกข์ยาก การต่อสู้และความหวังของคนจน เป็นความพยายามที่จะอ่านคัมภีร์ไบเบิล และหลักธรรมในศาสนาคริสต์จากทรรศนะของคนยากคนจนเรียนรู้ที่จะอ่านพระคัมภีร์ในลักษณะที่ย้ำถึงศักดิ์ศรีและสิทธิของตนเองในการต่อสู้เพื่อชีวิตที่ดีกว่า "เทววิทยาแห่งการปลดปล่อย" จึงนับเป็นบทวิพากษ์การกระทำของโบสถ์และชนชั้นผู้นำในศาสนาคริสต์จากแง่มุมของคนยากจน
"เทววิทยาแห่งการปลดปล่อย" เป็นที่รู้จักกันดีไม่เพียงแต่ในละตินอเมริกาเท่านั้น ยังเป็นที่รู้จักในเอเชียและแอฟริกาอีกด้วย มีนักเทววิทยาแห่งการปลดปล่อยเกิดขึ้นใหม่ๆ ทั้งในเอเชียและแอฟริกา รวมทั้งการเกิดขึ้นของ "เทววิทยาแห่งการปลดปล่อยเพื่อสิทธิสตรี" (Feminist Liberation Theology) และ "เทววิทยาแห่งการปลดปล่อยเพื่อคนผิวดำ" (Black Liberation Theology)
ในเอเชียที่อินโดนีเซีย เมือง Bundung 1990
เกิดอะไรขึ้นที่บันดุง มีการใช้คำว่า The new way of being Church และมีการออกแบบหลักสูตรเรียกว่า AsIPA
BEC (Basic Ecclesial community)
The New Way of Being Church
Bundung Indonesia เอกสารจากที่บันดุงพูดถึงเรื่องต่อไปนี้
1. แนะนำให้กลับไปใช้จิตตารมณ์กลุ่มคริสตชนยุคแรกๆ
2. การถูกเรียกมาสู่การประกาศพระวรสาร ในรูปแบบใหม่
3. การสมานฉันท์กับพี่น้องต่างความเชื่อ ต่างศาสนา ในรูปแบบใหม่
4. การมีความรับผิดชอบต่อสังคมส่วนรวม
5. การเอาใจใส่คนยากจน
*the new movement มี พระวรสารเป็นศูนย์กลางของชีวิต
*the new way of being Church คือ การชุมนุมกันเป็นสังคมที่มีรากฐานอยู่ที่พระคัมภีร์
*ตั้งกลุ่มวิถีชุมชนวัดโดยใช้กระบวนการ AsIPA เพื่อสร้าง Bec เพื่อพัฒนาพระศาสนจักรในทุกระดับทั้งสภาภิบาล
คณะพระสังฆราชแห่งเอเชีย ได้ประกาศในแถลงการสุดท้ายจากที่ประชุม สหพันธ์สภาพระสังฆราชแห่ง
เอเชียครั้งที่ 5 ณ เมืองบันดุง ประเทศอินโดนีเซีย ว่าชุมชนวัดและพระศาสนจักรหลังปี ค.ศ. 1990 บิชอป ฟริตซ์ โลบิงเงอร์ แห่งอาลีวัล (แอฟริกาใต้) และบิชอปออสวัลด์ ฮิร์เมอร์ ผู้ริเริ่มโครงการฝึกอบรมอภิบาลของ LUMKO แอฟริกาใต้ ได้สร้างแรงบันดาลใจจากวิสัยทัศน์นี้งานภิบาลต้องเป็น “พระศาสนจักรที่ทุกคนมีส่วนร่วม” เป็น “ชุมชนวัดที่เป็นจิตหนึ่งใจเดียวกันของชุมชนคริสตชนย่อยๆ” พระศาสนจักรที่เป็น “ประจักษ์พยานถึงองค์พระคริสตเจ้าผู้กลับคืนพระชนมชีพ” (FABC 5 ข้อ 8)
ประเด็นปัญหาก็คือ จะสนับสนุนวิถีชุมชนวัด หรือ “วิถีทางใหม่ของการเป็นชุมชนวัด” นี้ได้อย่างไร ฉะนั้นในปลายปี 1993 โดยการสนับสนุนร่วมกันของสองสำนักงาน ในสหพันธ์สภาพระสังฆราชแห่ง เอเชีย (FABC) คือ สํานักงานเพื่อการพัฒนามนุษย์ (OHD) และสำนักงานเพี่อกิจการฆราวาส (OL) ได้จัดการประชุมปรึกษากันที่กัวลาลัมเปอร์ประเทศมาเลเซีย และเสนอให้กระบวนการทางด้านอภิบาลสนับสนุน “พระศาสนจักรที่ทุกคนมีส่วนร่วม” ในเอเชียว่า AsIPA ซึ่งย่อมาจาก Asian Integral Pastoral Approach
เป้าหมายของพระศาสนจักร
1. The new way of being Church การเป็นพระศาสนจักรในรูปแบบใหม่ คือ
การที่คริสตชนทุกคนมีส่วนร่วมรับผิดชอบในงานพระศาสนจักรเพื่อที่จะเป็น พระศาสนจักรรูปแบบใหม่ พระศาสนจักรแนะนำให้ฟื้นฟูคริสตชนเป็นกลุ่มย่อย
2. วิถีชุมชนวัด Bec, Scc ในแต่ละกลุ่มย่อย ใช้กระบวนการ AsIPA เป็นเครื่องมือฝึกฝนอบรม หล่อเลี้ยงกลุ่มย่อยด้วยพระวาจาและศีลศักดิ์สิทธ์
3. AsIPA เป็นหลักสูตรที่ประกอบด้วยหนังสือ 4 ภาค ซึ่งหนึ่งในวิธีการที่มีชื่อเสียงที่สุดคือการแบ่งปันพระวาจา 7 ขั้นตอน
สำหรับประเทศไทย จากประชุมสมัชชาใหญ่ AsIPA ครั้งที่ 2 ปี ค.ศ. 2000 ณ ศูนย์ฝึกอภิบาลบ้านผู้หว่าน หัวข้อว่า A New Way of Being Church in the New Millennium ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เข้าใจถึง AsIPA สู่การเป็นคริสตจักรแบบทุกคนมีส่วนร่วม
ที่ประชุมประกาศว่า BECs เป็นบ่อเกิดของการปลูกฝัง การเกิดใหม่ และการสร้างคริสตจักรท้องถิ่นขึ้นใหม่ โดยผ่านทางชุมชนพระศาสนจักรขั้นพื้นฐาน ด้วยการแบ่งปันพระวจนะของพระเจ้า เฉลิมฉลองความสุขและการออกไปและรับใช้ผู้อื่น มีส่วนร่วมในปัญหาชีวิตในบริบทเฉพาะของคนๆ หนึ่ง BECs ทำให้พระเยซูทรงมีชีวิต BECs เป็นเชื้อสำหรับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและจิตวิญญาณ BECs เปลี่ยนแปลงสังคมเพื่อแสดงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันกับคนยากจน คนอ่อนแอ และความทุกข์ยาก BECs นำความสามัคคี ท่ามกลางความหลากหลายซึ่งมีวัฒนธรรมมากมาย
****************************
สาส์นอภิบาล
สภาพระสังฆราชคาทอลิกแห่งประเทศไทย
เรื่อง “การฟื้นฟูชีวิตชุมชนศิษย์พระคริสต์ ค.ศ. 2012 – 2015”
อวยพรมายังพี่น้องพระสงฆ์ นักบวช และสัตบุรุษที่รักทั้งหลาย
สำหรับเราคริสตชน ความเชื่อเป็นพระพรที่เราได้รับผ่านทางพระศาสนจักรเมื่อรับศีลล้างบาปประวัติศาสตร์
ระบุว่ามิสชันนารีคณะโดมินิกันชาวโปรตุเกสเดินทางเข้ามาประเทศสยาม เมื่อ ค.ศ. 1567 ต่อมา ค.ศ. 1582 เป็นมิสชันนารีคณะฟรังซิสกันชาวสเปน และค.ศ. 1607 เป็นมิสชันนารีคณะเยสุอิต เรามีข้อมูลจากเอกสารของคณะโดมินิกันและคณะเยสุอิตซึ่งทำให้เราเข้าใจบทบาทของทั้งสองคณะนี้พอสมควรแต่เรามีเอกสารของคณะฟรังซิสกัน น้อยมาก และในวันที่ 22 สิงหาคม ค.ศ. 1662 มิสชันนารีคณะมิสซังต่างประเทศแห่งกรุงปารีสจากประเทศฝรั่งเศสได้เดินทางมาถึงกรุงศรีอยุธยา การสืบทอดพระพรแห่งความเชื่อจึงเริ่มต้นขึ้นในแผ่นดินสยามเป็นรูปร่างอย่างเด่นชัด ดังนั้น ในปี ค.ศ. 2012 จึงถือได้ว่าครบ 350 ปี ที่มีการประกาศข่าวดีอย่างเป็นทางการในประเทศไทย และตั้งแต่แรกเริ่มพระศาสนจักรในประเทศไทยมีสถานะเป็น “มิสซัง” จนในที่สุดได้รับการยกระดับพระฐานานุกรมสถาปนาเป็น “สังฆมณฑล” อย่างเป็นทางการ ในปี ค.ศ. 1965 ฉะนั้น ในปี ค.ศ. 2015 ก็จะครบ 50 ปีที่ได้รับการสถาปนาด้วย พระศาสนจักรคาทอลิกไทยจึงได้กำหนดให้ช่วงเวลาแห่งพระพรในปี 2012-2015 เป็นปี “การฟื้นฟูชีวิตชุมชนศิษย์พระคริสต์” เริ่มในวันที่ 15 สิงหาคม 2012 เป็นการฟื้นฟูชีวิตคริสตชนในทุกระดับ และทางสันตะสำนักได้ประกาศให้ปี 2012-2013 เป็น “ปีแห่งความเชื่อ” ซึ่งเป็นการฉลอง 2 เหตุการณ์สำคัญในชีวิตพระศาสนจักร คือ 50 ปี ที่บุญราศีสมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ที่ 23 เปิดสภาสังคายนาวาติกัน ที่ 2 (11 ตุลาคม 1962) และ 20 ปี ที่บุญราศีสมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอลที่ 2 ได้ประกาศรับรองหนังสือคำสอนพระศาสนจักรคาทอลิก (11 ตุลาคม 1992) และพระศาสนจักรไทยจะเตรียมฉลอง “ปีศักดิ์สิทธิ์” ในปี ค.ศ. 2014-2015
ในแผนอภิบาลพระศาสนจักรได้มีการกำหนดที่จะใช้กระบวนการวิถีชุมชนวัดเป็นวิธีการหลักเพื่อฟื้นฟูความ
เชื่อของพระศาสนจักรให้เป็นหนทางใหม่ เป็นรูปแบบใหม่ ชีวิตใหม่ของคริสตชนไทย ความเชื่อเป็นประสบการณ์ของคริสตชน คือ การพบพระคริสตเจ้าผู้กลับคืนพระชนมชีพ เป็นความเชื่อที่มีชีวิตชีวา (แผนทิศทางฯ ข้อ 15) เป็นชุมชนที่มีชีวิต มีพระวาจาของพระเจ้าเป็นลมหายใจของชีวิต หล่อเลี้ยงด้วยศีลศักดิ์สิทธิ์และการภาวนา จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่คริสตชนต้องสร้างความสัมพันธ์กับพระเจ้าอาศัยศีลศักดิ์สิทธิ์ และมีประสบการณ์กับพระ มีการพัฒนาความเชื่อซึ่งเป็นรากฐานชีวิตคริสตชน เพื่อมุ่งให้เกิดประสบการณ์กับพระเจ้าจนเป็นแรงขับเคลื่อนให้พัฒนาทุกมิติของชีวิต และพร้อมที่จะร่วมพันธกิจแบ่งปันข่าวดีแก่ปวงชน
เพื่อให้การฟื้นฟูชุมชนศิษย์พระคริสต์ ระหว่าง ค.ศ. 2012 – 2015 บรรลุวัตถุประสงค์ จึงขอเสนอแนวปฏิบัติไว้ดังนี้
1. ให้แต่ละสังฆมณฑล คณะนักบวช หน่วยงาน องค์กรต่างๆ สถานศึกษาคาทอลิก ร่วมมือกันดำเนินการฟื้นฟูชุมชนศิษย์พระคริสต์ ในปีแห่งความเชื่อนี้ จนถึงปีศักดิ์สิทธิ์ (2014-2015)
2. กำหนดประเด็นเพื่อการไตร่ตรอง สรุปสาระสำคัญ และแนวปฏิบัติ (คำนึงถึงสภาพชีวิตของคริสตชนและชุมชน สังคม วัฒนธรรมท้องถิ่น ฯลฯ)
3. ส่งเสริมการอ่านพระวาจาด้วยใจรัก สู่การมีประสบการณ์ “พบพระ” และภาวนา ตลอดจนวิธีการอื่นที่ใช้พระคัมภีร์เพื่อการอภิบาล (Pastoral use of the Bible / Biblical Pastoral Ministries)
4. ส่งเสริม สนับสนุนให้มีการศึกษาเอกสารของสภาสังคายนาวาติกัน ที่ 2 และหนังสือคำสอนของพระศาสนจักรคาทอลิก และบูรณาการเข้าสู่ชีวิตและพันธกิจต่างๆ ของพระศาสนจักร
5. แสวงหาวิธีการถ่ายทอดประเด็นคำสอนที่ได้ไตร่ตรองสู่ฆราวาส และสร้างแรงจูงใจให้สนใจเข้าร่วมกระบวนการฟื้นฟู / พัฒนาชีวิตความเชื่อ (พยายามเลี่ยงคำว่า “อบรม”แต่ช่วยให้พวกเขาได้แสวงหาลักษณะชีวิตความเป็นอยู่ของชุมชนที่เขาต้องการซึ่งไม่มีสูตรสำเร็จ)
6. มีการเยี่ยมบ้านโดยผู้อภิบาลและผู้นำชุมชน เพื่อสร้างสัมพันธ์และปลุกจิตสำนึกความเป็นชุมชนศิษย์พระคริสต์ (แต่ละสังฆมณฑลและท้องถิ่นจำต้องแสวงหารูปแบบที่เหมาะกับท้องถิ่นเป็นการเฉพาะ)
7. จัดทำรายการโทรทัศน์ วิทยุ สิ่งพิมพ์และสื่อต่างๆ โดยเน้นความเชื่อ หลักการและเนื้อหาของเอกสารสภาสังคายนาวาติกันที่ 2 คำสอนของพระศาสนจักรคาทอลิก ในรูปแบบที่เข้าใจง่าย สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้
สภาพระสังฆราชฯ ขอเชิญชวนสมาชิกทุกคนของพระศาสนจักร ทั้งในระดับส่วนตัว หมู่คณะชุมชน
สังฆมณฑล และระดับชาติ ได้ร่วมกันทบทวนชีวิตความเชื่อประจำวันของเราในการเป็นชุมชนศิษย์พระคริสต์ ทำให้เราเป็นหนึ่งเดียวในความรักต่อพระเจ้า เป็นประจักษ์พยานชีวิตด้วยการแบ่งปันบุคคลที่รักยิ่งของเรา คือ พระเยซู คริสตเจ้าผู้ทรงบุกเบิกความเชื่อ และทรงทำให้ความเชื่อนั้นสมบูรณ์” (ฮบ 12:2)
ขอพระแม่มารีย์ผู้รับเกียรติยกขึ้นสวรรค์ พระมารดาพระศาสนจักรและองค์อุปถัมภ์ของพระศาสนจักรคาทอลิกในประเทศไทย โปรดเสนอวิงวอนเพื่อพระศาสนจักรไทยได้เจริญเติบโตยิ่งขึ้นในการเป็นชุมชนศิษย์พระคริสต์ที่ได้รับการหล่อเลี้ยงด้วยพระวาจา การอธิษฐานภาวนาและศีลมหาสนิท หยั่งรากลึกในความเชื่อ ความหวังและความรัก สามารถประกาศข่าวดี เจริญชีวิตและปฏิบัติพันธกิจแห่งความรักและการรับใช้ เป็นเกลือดองแผ่นดินและแสงสว่างแท้แก่สังคมไทยตลอดไป
ประกาศ ณ วันที่ 15 สิงหาคม ค.ศ. 2012
ประวัติงานวิถีชุมชนวัดสังฆมณฑลจันทบุรี
สังฆมณฑลจันทบุรี ได้นำแผนอภิบาลของสภาพระสังฆราชแห่งประเทศไทยเป็นแนวทางในการกำหนดทิศทางงานอภิบาลของสังฆมณฑลจันทบุรี ตั้งแต่ปีค.ศ. 2000 เป็นต้นมา
งานสร้างชุนชนคริสตชนย่อยจึงค่อยๆ เริ่มก่อตัวขึ้น
ค.ศ.1983 คุณพ่อวิโรจน์ สมหมาย / คุณพ่อยุทธิชัย ปัญจทรัพย์ / คุณแม่พเยาว์ ถาวรวงษ์ ได้ไปรับการอบรม
เรื่อง Better World movement ทีประเทศฟิลิปปินส์
ค.ศ.1991 ฆราวาส 6 คน (คุณไพบูลย์-คุณสมหมาย ยงชัยหิรัญ / คุณวันชัย-คุณวารี ทรงพลอย / คุณสุรชัย-
คุณรัตนา กิตติพล) ไปศึกษาดูงาน SCCs กับบราเดอร์ทินรัตน์ คมกฤษ ที่ประเทศมาเลเซียและ
ประเทศสิงคโปร์
ค.ศ.1995 ทางสังฆมณฑลได้ส่งคุณพ่อบรรจง พานุพันธ์ / คุณพ่อเฉลิม กิจมงคล / คุพ่อวัชรินทร์ สมานจิต
คุณพ่อมานพ ปรีชาวุฒิ / คุณพ่อปรีชา สกุลอ่อน / คุณพ่อวิศิษฏ์ วิเศษเธียรกุล ไปศึกษาดูงาน
SCCs ที่เมืองมาลักกา ประเทศมาเลเซียกลับมาผลที่เกิดขึ้นคือ
* ได้มีการส่งเสริมให้สัตบุรุษอ่านพระวาจามากขึ้น
* ได้มีการส่งเสริมให้มีการรวมกลุ่มแบ่งปันพระวาจา 7 ขั้นตอนบ้างบางวัด
ค.ศ.1997 คุณพ่อบรรจง พานุพันธ์ / คุณพ่อวัชรินทร์ สมานจิต / คุณพ่อมานพ ปรีชาวุฒิ ได้ไปอบรม
หลักสูตรพระคัมภีร์ ที่ NEMI
ค.ศ.2003 ทางสังฆมณฑล ได้ส่งคุณพ่อสุดเจน ฝ่นเรือง / คุณแม่ศรีไพร กระทอง / คุณพ่อวีระชน นพคุณทอง /
คุณพ่อทรงวุฒิ ประทีปสุขจิตคุณพ่อพงษ์ศักดิ์ แซ่เตียว / คุณพ่อสมนึก ประทุมราช ไปศึกษาดูงาน
SCCs ที่ประเทศมาเลซีย
ค.ศ.2007 – 2009 สืบเนื่องจากสมัชชาพระสังฆราชที่กรุงโรม
*ระดับชาติ กำหนดให้ 3 ปีสุดท้ายก่อนถึง ค.ศ.2010 เป็นปีพระวาจา
*หน่วยงานพระคัมภีร์สังฆมณฑลจันทบุรี ได้จัดทำสมัชชาปีพระวาจาที่ศูนย์ธรรมศาสตร์ร่วมกัน
ระหว่างพระสงฆ์และสภาอภิบาล ได้กำหนดคู่มือแนวทางปฏิบัติปีพระวาจา
ค.ศ.2007-2010 สังฆมณฑลจันทบุรีว่า “คริสตชนสังฆมณฑลจันทบุรี รู้ รัก และดำเนินชีวิตตามพระวาจา”
ค.ศ.2008 11-12 พฤศจิกายน หน่วยงานชีวิตสงฆ์ เชิญบราเดอร์ทินรัตน์ คมกฤษ มาให้ความรู้กี่ยวกับ SCCs
โอกาสเข้าเงียบ
ค.ศ.2010 *เดือนกรกฎาคม ทางสังฆมณฑลได้ส่งคุณพ่อเศกสม กิจมงคล / คุณพ่อสมนึก ประทุมราช
คุณพ่อธีรพงษ์ ก้านพิกุล / ซิสเตอร์ชุลี สรรเพชร / คุณวันทา เมทินีพนิต / คุณนิจจา ฝ่นเรือง
คุณสำราญ จูหงี ไปศึกษาดูงาน BEC ที่อัครสังฆมณฑลท่าแร่-หนองแสง
*เดือนสิงหาคม – กันยายน ทางสังฆมณฑลได้ส่งคุณพ่อเศกสม กิจมงคลและคุณพ่อธีรพงษ์
ก้านพิกุล ไปศึกษาดูงาน SCCs ที่ประเทศอินเดีย
ค.ศ.2011 *เดือนมิถุนายน สังฆมณฑลจันทบุรีจัดสมัชชาและได้ประกาศแผนอภิบาลสังฆมณฑลจันทบุรี
ค.ศ.2011- 2015 *ในฝ่ายอภิบาลได้เน้นการสร้างชุมชนศิษย์พระคริสต์ ด้วยกระบวนการวิถีชุมชนวัด
*วันที่ 27-29 มิถุนายน คุณพ่อเศกสมประสานงานร่วมกับ ฝ่ายปกครองวัดและฝ่ายอภิบาล
*จัดให้พระสงฆ์เจ้าวัดไปศึกษาดูงาน BEC ที่วัดน.เปโตร อ.สามพราน
*9 กรกฎาคม ฟื้นฟูจิตใจสภาอภิบาล+ทำความเข้าใจพื้นฐานBECแขวงหัวไผ่,แขวงสระแก้ว
*28 สิงหาคม ฟื้นฟูจิตใจ+ทำความเข้าใจ พื้นฐานBEC สภาอภิบาลแขวงจันทบุรี
*วันที่ 25-27 ตุลาคม จัดสัมมนาพระสงฆ์ประจำปีในหัวข้อ “การสร้างชุมชนศิษย์พระคริสต์
ด้วยกระบวนการวิถีชุมชนวัด ในบริบทมิสซังจันท์”
*เดือนตุลาคม ทางสังฆมณฑลประกาศแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงานวิถีชุมชนวัดสังฆมณฑล
จันทบุรี
*เดือนพฤศจิกายน ทางสังฆมณฑลจันทบุรีส่ง (คุณพ่อชาติชาย พงษ์ศิริ / คุณพ่อทรงวุฒิ
ประทีปสุขจิต / คุณพ่อชาติชาย เวฬุรัตนกูล / คุณพ่ออนุสรณ์ พงษ์ศิริพัฒน์ / คุณพ่อสมภพ
ประทุมราช และซิสเตอร์ชุลี สรรเพ็ชร ไปอบรมสัมมนาวิถีชุมชนวัดภาคพื้นเอเชียที่บ้านผู้หว่าน
อ.สามพราน จ.นครปฐม
*วันที่ 5-6 ธันวาคม กรรมการบริหารสังฆมณฑลจันบุรี จัดสัมมนาพระสงฆ์และสภาอภิบาล
เกี่ยวกับการดำเนินงาน BEC ของสังฆมณฑล
ค.ศ.2015 *สังฆมณฑลจันทบุรีได้มอบหมายให้คุณพ่อเศกสม กิจมงคล เป็นจิตตาธิการ ดูแลงานวิถี
ชุมชนวัด มีเจ้าหน้าที่ 1 คน
ค.ศ.2018 *วันที่ 3 กรกฏาคม – 4 สิงหาคม สังฆมณฑลจันทบุรีส่งพระสงฆ์ 4 คน คุณพ่อมานพ
ปรีชาวุฒิ คุณพ่ออานุภาพ วงษ์แก้ว คุณพ่อประธาน ตันเจริญ และคุณพ่ออิทธิพล หางสลัด
ฆราวาส 2 คน คุณรัตตินันท์ บุณยสิทธิ์วิกุล คุณนิจจารีย์ พานิชเจริญ เข้าร่วมอบรม Scc
ที่บ้านผู้หว่าน
คณะรักกางเขนแห่งจันทบุรี
แม่อธิการคณะรักกางเขนแห่งจันทบุรีส่งซิสเตอร์ไปอบรม SCCs เพื่อมาช่วยงานอภิบาลของคณะและช่วยสนับสนุนงานวิถีชุมชนวัดสังฆมณฑลจันทบุรี ดังนี้
ค.ศ. 2011 ซิสเตอร์์ชุลี สรรเพชร
ค.ศ. 2012 ซิสเตอร์ขวัญเรียม เพียรรักษา / ซิสเตอร์นงลักษณ์ สันจิตร
ค.ศ. 2013 ซิสเตอร์ไมตรี / ซิสเตอร์รพิพรรณ / ซิสเตอร์อำไพ
ค.ศ. 2014 ซิสเตอร์เพ็ชรรัตน์ / ซิสเตอร์วิมลรัตน์
Update 20-06-2021
By admin
|